เมนู

136. อรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน


อปทานของท่านพระจัมปกปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กณิการํว
โชตนฺตํ
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ในทุก ๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
เสมอมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเวสสภู ท่าน
ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาศิลปะของตน
แต่มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นฤาษีใน
ระหว่างป่า นำเอาดอกจำปาที่พวกศิษย์นำมาแล้ว บูชาเฉพาะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ
อนุโมทนาแล้ว. ด้วยกุศลกรรมนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติทั้งสองครบถ้วนแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว มีความเบื่อหน่ายใน
เพศฆราวาส เพราะกำลังแห่งวาสนาที่ตนได้อบรมมาในกาลก่อน จึงได้
บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุญกรรมในครั้งก่อนของตนได้ เกิด
ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว
ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า กณิการํว โชตนฺตํ ดังนี้ บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า กณิการํ ความว่า ชื่อว่า กณิการ์ เพราะในเวลาที่
ใบเหลืองทั้งหมดร่วงหล่นลงแล้ว ก็ออกดอก เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกับ
ต้นกัณณิการ์ คือ เพราะเก็บเอาแต่ดอกที่ตูม ซึ่งมีปกติอาการคล้ายดอก
กัณณิการ์, บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ว่ากณิการ์ เพราะทำการลบ

อักษรตัวหน้าเสียตัวหนึ่ง โดยนัยแห่งนิรุตติปกรณ์แล้วควรจะกล่าวว่า
กัณณิการ์. อธิบายว่า เราได้พบเห็นพระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง คล้ายต้น
ดอกกัณณิการ์ที่บานแล้วนั้นฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน

อรรถกถาอัตถสันทัสสกเถราปทานที่ 7 (137)


ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า 3 คาถา


[139] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
ผู้บรรลุพลธรรม แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

ภิกษุสงฆ์ประมาณ 1 แสน ผู้บรรลุวิชชา 3 ได้อภิญญา 6
มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ใครเห็นแล้วจะไม่
เลื่อมใสเล่า.

ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ ในพระ-
ญาณของพระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุดแล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า.

ชนทั้งหลายไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดง
พระธรรมกาย และความเป็นหน่อเนื้อแห่งรัตนะทั้งสิ้นให้
กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า.

พราหมณ์นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระผู้ไม่แพ้ด้วย 3 คาถานี้แล้ว เดินไปข้างหน้า.

ด้วยจิตอันเลื่อมใส และด้วยการชมเชยพระพุทธเจ้านั้น
เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.

ในกัปที่ 3,000 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม
กษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ
มีพละมาก.